
+ วันที่สี่ ออกรถแต่เช้ามุ่งหน้าสู่เมืองน่าน โรงแรมหาคนขับรถตู้ไกด์ชั้นหนึ่งให้เรา ชื่อ "พี่นวยรู้สึกจะเป็นนายกสมาคมรถตู้ของจังหวัดแพร่ (มี service mind แบบแปลกๆ ทำเป็นถามเราว่าอยากฟังเพลงสไตล์ไหน พอบอกไป ก็ไม่ยอมเปิดให้ บอกอีกอันเพราะกว่า...งง?) พี่นวยเล่าให้ฟังว่าน่านเป็นเมืองในหุบเขาเหมือนแดนสนธยา ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปเท่าไหร่
ระหว่างทางช่วงรอยต่อของสองจังหวัดต้องวิ่งตัดภูเขาเข้าไป แถวนี้ชาวบ้านจะปลูกไร่ข้าวโพดกันเยอะมาก
แวะที่บ้านน้ำเกี๋ยนเป็นที่แรก กะจะคุยกับกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านนี้เสียหน่อย... เราไปถึงตอน 11.08 น. แต่ชาวบ้านนอนหลับกันหมด พี่กบทั้งเรียกทั้งสวัสดีทุกภาษา มองหน้ากันไปมาเห็นท่าจะไม่เวิร์คแน่ ...ไปดีกว่า
ประชุมหารือกันบนรถ สรุปว่าขอไปตั้งหลักที่หอศิลป์ริมน่านก่อน (ต้องขอบคุณพี่ไกร ที่ช่วยโทรมาฝากฝังไว้แล้วตั้งแต่เมื่อวาน)
ถึงแล้ว "หอศิลป์ริมน่าน" (Nan Riverside Gallery) ขอวิ่งเข้าห้องน้ำก่อน (รู้สึก privileged สุดๆ ...เพราะมีแต่ห้องน้ำหญิงค่ะ)
บรรยากาศรอบๆ ชวนขี้เกียจ
สถาปัตยกรรมดูแปลกๆแต่ก็น่ารักดี คุณวินัย ปราบริปู เจ้าของหอศิลป์เป็นผู้ออกแบบเอง โดยเล่าให้เราฟังว่าส่วนบนสุดที่เห็นเป็นลูกศรนั้นหมายถึงความมุ่งมั่นของเขาในการสร้างหอศิลป์นี้ให้เป็นจริง ส่วนสัญลักษณ์รูปดวงอาทิตย์และดวงจันทร์คือพลังและแรงขับเคลื่อนในตอนนั้น (ตอนที่สร้างตึก พื้นที่แถวนี้ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ไง) ผนังภายนอกต้องทำให้เป็นลายขรุขระ เนื่องจากไม่มีเงินจ้างช่างปูนผู้ชาย (ที่มีฝีมือการฉาบปูนเรียบ) เจ้าของเลยต้องไปเกณฑ์แรงงานหญิง (ชาวบ้านแถวนั้นแหละ) ให้มาช่วยกันออกแบบและทำงานในส่วนนี้ ปรากฎว่าผลงานออกมาใช้ได้ ดูเท่เลยล่ะ... ได้เห็นภูมิปัญญาชาวบ้านกันชัดๆเลย
บริเวณทางเข้าห้องนิทรรศการหลักมีรูปและ quote ของ อ.ศิลป์ พีระศรี
บรรยากาศและการตกแต่งในส่วนของร้านค้าและคาเฟ่
อีกมุม
และอีกมุม
งานภาพพิมพ์สื่อผสมชิ้นเล็กๆ ที่คุณวินัยทำขึ้นเพื่อขายในส่วนของร้านค้า
ลุยเรื่องผ้าทอกันต่อที่อำเภอปัว กลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านดอนไชย
ไร่อ้อยทำผ้าทอลายลื้อและแปรรูปด้วย ครบวงจรเลย มีการจัดการที่ใช้ได้ รับออเดอร์ใหญ่ๆได้สบาย
ผ้าไทยลื้อดั้งเดิมจะใช้สามสีเท่านั้น คือ ขาว (ฝ้าย) ดำ (ห้อม,คราม) แดง (น้ำหมาก) มองออกนอกโชว์รูมก็เห็นนาข้าวทันที
บ้านเก็ต อีกบ้านที่เราแวะ ทำผ้าทอและแปรรูปด้วยเช่นเดียวกัน
ลายไทลื้อลายประยุกต์ (ลายนี้จดลิขสิทธ์แล้ว)
เริ่มเหนื่อย ขอแวะหาที่พักก่อน สาวๆที่บ้านดอนไชยแนะนำให้มานอนที่โรงแรมอูปแก้ว ที่เห็นลายฉลุไม้บนจั่วนี่เป็นศิลปะของเมืองแพร่ ถูก import เข้ามาที่น่าน เรามากันสองคนเลยนอนบนตัวตึก แต่ถ้ามาเป็นกลุ่มใหญ่จะนอนบ้านแบบเคบินก็ได้ จุได้หลายคน ประหยัดกว่า
ตกเย็นก่อนกินข้าว มาเดินเล่นที่ลานเอนกประสงค์ ชาวบ้านมาออกกำลังกายกันแถวนี้
วิวตอนเช้าจากห้องอาหารของโรงแรม
แวะบ้านดีไซเนอร์ (บ้านป้าคำยง) คนนี้ตัวจริงของวงการ ทำผ้าสวยมากๆ มีการทำR&D ก่อนจะผลิตจริงด้วย แต่เห็นว่าป้าแกไม่ค่อยเปิดบ้านรับแขกบ่อยนัก เพราะต้องการสมาธิสูงในเวลางาน
แวะทานข้าวกลางวันข้างทางหลวง
ผ้าพลาสติกปูโต๊ะลายป๊อปมาก
บ้านโป่งคำ ผ้าทอที่นี่ใช้สีธรรมชาติล้วน
คุณป้าคนนี้บอก "ทอผ้าสนุกมาก"
ถึงซะที stop สุดท้ายก่อนกลับบ้าน ร้านจางตระกูลเป็นร้านค้าขายของพื้นเมืองมีชื่อของจังหวัดน่าน ร้านนี้สนับสนุนการทำงานเสริมรายได้ของท้องถิ่นมาตั้งแต่อดีต โดยการรับซื้อสินค้าจากชาวบ้านในช่วงนอกฤดูทำนา
สินค้าในร้านที่รับมาจากชาวบ้าน
ภารกิจเสร็จสิ้น พี่นวยรีบบึ่งรถกลับไปส่งเราที่สถานีรถไฟอำเภอเด่นชัยเพื่อให้ทันรถนอนขบวนหนึ่งทุ่ม เราได้ซื้อตั๋วกันตอน 18.55 น. เฉียดฉิว! พอขึ้นรถได้เจอกับกลุ่ม SPAFA อีกครั้ง เขากลับกรุงเทพวันนี้พอดีเหมือนกัน นั่งเม้ากันเล็กน้อยแล้วทุกคนก็หลับคร่อก
จบวันสุดท้าย